โอกาสและความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย เมื่อยุค ChatGPT มาถึง

ปัจจุบันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ในด้านตัวแบบทางภาษาศาสตร์ (Language Model) ซึ่งมีพื้นฐานมาจาก GPT (Generative Pre-trained Transformer) โดยเฉพาะ ChatGPT กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นระบบปัญญาประดิษฐ์ที่มีความสามารถในการทำงานสูง แตกต่างจาก Chatbot ทั่วไปที่มีใช้งานอยู่แล้วอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เช่น สามารถช่วยเขียนโปรแกรม เขียนบทความ เขียนงานวิชาการ หรือแม้แต่การแต่งกลอน ซึ่งความก้าวหน้าดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษา หรือพันธกิจอื่นๆ ของมหาวิทยาลัย ทั้งในด้านการสร้างโอกาสหรือความเสี่ยงในการดำเนินการได้ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศได้เล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีดังกล่าว จึงได้จัดงานในรูปแบบการเสวนาเรื่อง "Chat GPT ความเสี่ยงและโอกาสของมหาวิทยาลัย" การสร้างความเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ แบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ในการทำงาน จากภาคธุรกิจที่ได้มีการพัฒนาและใช้งานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการแสดงความคิดเห็นถึงความเสี่ยง และโอกาสของการประยุกต์ใช้ในภาคการศึกษา และการทำงานที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ภายในงานได้เรียนเชิญ ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้ร่วมก่อตั้ง ZTRUS และอดีตนายกสมาคม Thailand Tech Startup Association วิทยากรซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจากภาคธุรกิจ ที่มีการใช้่งาน AI มาอย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนั้น ผู้ร่วมการเสวนาจากหลากหลายแขนงวิชาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งในด้าน digital ของมหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.รัฐสิทธิ์ สุขะหุต รองอธิการบดี อีกทั้งผู้เชี่ยวชาญด้าน AI language Model ผศ.ดร.พร้อมพงศ์ สุกัณศีล รองผู้อำนวยการ สำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา รวมไปถึง ตัวแทนผู้สอนสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ รศ.นพ.เอกรัฐ รัฐฤทธิ์ธำรง ผู้ช่วยคณบดี คณะแพทยศาสตร์ ตัวแทนผู้สอนสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผศ.ดร.ภิญโญ พวงมะลิ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ ตัวแทนผู้สอนสายสังคมศาสตร์ ผศ.ดร.วรัทยา ชินกรรม คณะเศรษฐศาสตร์ อีกทั้ง ผู้ดำเนินรายการให้เกียรติโดย รศ.ดร. ดร.จักรพงศ์ นาทวิชัย ผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ การเสวนาในครั้งนี้จัดขึ้นในรูปแบบ Hybrid ณ ห้องประชุม 201 สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้รับเกียรติจาก คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ดร. วิรไท สันติประภพ ประธานคณะกรรมการกำกับการบริหารความเสี่ยง เข้าร่วมรับฟังการเสวนา อีกทั้งผ่านระบบออนไลน์ ที่มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังกว่า 500 คน ไม่ว่าจะเป็น นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร หน่วยงานจากมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึง ภาคธุรกิจ ซึ่งการเสวนาจัดขึ้นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566

.

อัลบั้ม